คำอธิบายรายวิชา
Blog นี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ทุกท่านได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ DRU MODEL ซึ่งจัดอยู่ในรายวิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This blog is intended to provide all the studies on learning the form DRU MODEL , Which is in the course of development of science  Dhonburi Rajabhat University

DRU MODEL





  จากรูปดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นดังนี้
D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs)

ขั้น D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs)
เป็นขั้นให้นักศึกษาวินิจฉัยและตัดสินใจในการวางแผนและออกแบบการเรียนรู้โดยนักศึกษาสามารถกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้และกำหนดภาระงานตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดได้สามารถออกแบบ       การจัดการเรียนรู้นำเสนอเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งในขั้น D: Diagnosis of needs ประกอบด้วยขั้น ตอน 6 ขั้น คือ 
1) การวินิจฉัยความต้องการ (diagnosis of needs)
2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (formulation of objectives)
3) การเลือกเนื้อหา (selection of content)
4) การบริหารจัดระบบเนื้อหา (organization of content)
5) การเลือกประสบการณ์ให้ผู้เรียน (selection of learning experiences)
6) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences)  ซึ่งการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์หลักสูตรวิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุอย่างชัดเจน แล้วจึงเลือกเนื้อหาสาระโดยพิจารณาความต่อเนื่องความยากง่ายและความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ กลวิธีการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายดังกล่าว


DRU MODEL : SNN 






เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค
R : ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
(Research into identifying effective learning environments)
 ขั้น R: Research in effective learning environment
(การใช้วิจัยเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ซึ่งในที่นี้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้หมายถึงการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ) 
เป็นขั้นที่นักศึกษานำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการปฏิบัติการเรียนรู้โดยนักศึกษาใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในการกำกับติดตามการปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ (Monitoring the Execution of knowledge) หรือการสร้างความรู้ใหม่และมีความกระจ่างชัด (Monitoring Clarity) และมีความถูกต้องเเม่นยำ (Monitoring Accuracy) ซึ่งในขั้นตอนนี้นักศึกษาจะมีการเลือกรับและทำความเข้าใจข้อมูลใหม่ทำให้นักศึกษามีการรู้คิด (meta cognition) และกำกับติดตามการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในขั้น R: Research in effective learning environment ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น คือ 
1) วิเคราะห์ปัญหา
2) วางแผนแก้ปัญหา
3) จัดกิจกรรมแก้ปัญหา
4) เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล
5) สรุปผลการแก้ปัญหา 

    วิเคราะห์ปัญหา
วางแผนแก้ปัญหา
จัดกิจกรรมแก้ปัญหา
เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล
สรุปผลการแก้ปัญหา
เด็กไม่ตั้งใจเรียน ส่วนมากเล่นโทรศัพท์หรือพูดคุยกันบางคนก็นอนหลับในห้องเรียน
1.สังเกตพฤติกรรมผู้เรียน
2.สอบถามครูพี่เลี้ยงว่านักเรียนแต่ละคนมีทักษะการเรียนรู้แบบไหนบ้าง
3.กลับมามองวิธีการสอนของตัวเองว่าเหมาะกับผู้เรียนไหม
4.ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่
ปรับเปลี่ยนการสอนโดยการปรับเปลี่ยนบทบาทจากที่ครูยืนบรรยายหน้าห้องเรียนเฉยๆเปลี่ยนให้เด็กได้ลงมือทำการทดลองทำกิจกรรมต่างๆด้วยตัวเองโดยครูเป็นผู้ชี้แนะเฉยๆพร้อมทั้งมีการเสริมแรงเด็กด้วย
-แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
-แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

จากการประเมินพบว่า ตั้งแต่ปรับเปลี่ยนการสอนให้เด็กได้มีการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆเอง เด็กเกิดความสนใจในการเรียนมากขึ้น

                รายงานการปฏิบัติกิจกรรม
      ผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
1.นำแบบจำลองระบบสุริยะมาให้ผู้เรียนดูแล้วให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม ปั้นระบบสุริยะของกลุ่มตัวเองออกมาโดยใช้ดินน้ำมัน
2.ให้ผู้เรียนทดลองเรื่องการขยายตัวเองของเอกภพ โดยแจกลูกโป่งและปากกาเคมีให้คนละแท่ง แล้วให้ผู้เรียนเขียนดาวต่างๆลงบนลูกโป่งแล้วเป่าจากนั้นให้ผู้เรียนสังเกตการขยายตัว
-เด็กเกิดความสนุกสนาน ไม่เบื่อหน่ายเพราะได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน

-ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น จากครั้งแรกอธิบายไปไม่ค่อยเข้าใจแต่เมื่อให้ทดลองเองแล้วสามารถอธิบายเนื้อหาในบทเรียนได้
U : การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้
(Universal Design for Learning and Assessment)

ขั้น U: Universal Design for learning

เป็นขั้นการประเมินตรวจสอบทบทวนตนเองและการยืนยันความถูกต้องและนำความรู้ใหม่ที่ได้รับจากขั้น R: Research in effective learning environment ไปใช้ในการวางแผนและออกแบบการเรียนรู้ใหม่และมีการกำกับติดตามโดยการกำกับติดตามนั้น ต้องมีความถูกต้องเเม่นย (Monitoring Accuracy) ซึ่งเป็นไปตาม Meta Cognitive System ของมาร์ซาโน

               แผนการสอนแบบ 5E
          แผนการสอนแบบ DRU MODEL
1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
            - ครูถามนักเรียนว่า นักเรียนรู้หรือไม่ว่าเอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร
            2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
            -ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน
            -ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ ได้แก่ ลูกโป่งและปากกาเคมี
            -ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มใช้ปากกาเคมีจุดๆลงบนลูกโป่งแล้วเป่า ดังภาพ

โดยเปรียบเทียบว่า ถ้าลูกโป่งคือเอกภพ และจุดบนผิวลูกโป่งคือกระจุกกาแล็กซี เมื่อเราเป่าลูกโป่ง จุดแต่ละจุดบนผิวลูกโป่งจะมีระยะทางห่างจากกันมาก
            3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
            -ครูอธิบายสรุปเนื้อหาผ่าน Powerpoint ให้นักเรียนฟัง
           4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
            -ให้นักเรียนทำแผนผังความคิดเรื่องการกำเนิดเอกภพลงในกระดาษฟลิยชาร์ตเป็นกลุ่มตามที่แบ่งไว้
            5. ขั้นประเมิน (Evaluation)
            ประเมินจากการตอบคำถามต่อไปนี้
            -ทฤษฎีกำเนิดเอกภพ ที่ได้รับความน่าสนใจมี 2 ทฤษฎี มีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ ทฤษฎีสภาวะคงที่ (Steady State Theory) และทฤษฎีระเบิดใหญ่ (Big Bang Theory) )
            -ระบบสุริยะของเราอยู่บนกาแล๊กซีอะไร (แนวคำตอบ กาแล๊กซีทางช้างเผือก)
            -เอกภพประกอบด้วยอะไรบ้าง (แนวคำตอบ เอกภพประกอบด้วยกาแล็กซีจำนวนเป็นแสนล้านกาแล็กซี ระหว่าง กาแล็กซีจะเป็นอวกาศที่เวิ้งว้างกว้างไกล เอกภพจึงมีขนาดใหญ่มาก)

1.ขั้นนำ
- ครูถามนักเรียนว่า นักเรียนรู้หรือไม่ว่าเอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร

2. ขั้นสอน
-ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน
            -ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ ได้แก่ ลูกโป่งและปากกาเคมี
            -ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มใช้ปากกาเคมีจุดๆลงบนลูกโป่งแล้วเป่า ดังภาพ


โดยเปรียบเทียบว่า ถ้าลูกโป่งคือเอกภพ และจุดบนผิวลูกโป่งคือกระจุกกาแล็กซี เมื่อเราเป่าลูกโป่ง จุดแต่ละจุดบนผิวลูกโป่งจะมีระยะทางห่างจากกันมาก
-ครูอธิบายสรุปเนื้อหาผ่าน Powerpoint ให้นักเรียนฟัง


3. ขั้นสรุป
-ให้นักเรียนทำแผนผังความคิดเรื่องการกำเนิดเอกภพลงในกระดาษฟลิยชาร์ตเป็นกลุ่มตามที่แบ่งไว้


บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปลาย และข้อเสนอแนะ
          การวิจัยเรื่อง พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้และจิตวิทยาศาสตร์วิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง แสงและการมองเห็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการวิเคราะห์และพัฒนา (Rescarch and Development) มีวัตถุประสงค์
          1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2
          2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และ
จิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง  แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2
          3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
          4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                    4.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์
เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2
                    4.2 เพื่อเปรียบเทียบทักษะ ความรู้หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                    4.3 เพื่อประเมินจิตวิทยาศาสตร์ หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                    4.4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์
 เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2
          เนื้อหาในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเนื้อหาสาระในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในส่วนรายวิชาเพิ่มเติม วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์จำนวน 25 คน
        ตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
          ตัวแปรตาม คือ ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังการใช้รูปแบบ ( DRU Model (SNN)) การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
          การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development)
3 ขั้นตอน คือ
          ขั้น D: Diagnosis of needs (การวินิจฉัยและออกแบบการเรียนรู้ ) เป็นขั้น ให้นักศึกษาวินิจฉัยและ ตัดสินใจในการวางแผนและออกแบบการเรียนรู้โดยนักศึกษาสามารถกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้และกำหนด ภาระงานตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดได้สามารถออกแบบ การจัดการเรียนรู้นำเสนอเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งในขั้น D: Diagnosis of needs ประกอบด้วยขั้น ตอน 6 ขั้น คือ
          1) การวินิจฉัยความต้องการ (diagnosis of needs)
          2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (formulation of objectives)
          3) การเลือกเนื้อหา (selection of content)
          4) การบริหารจัดระบบเนื้อหา (organization of content)
          5) การเลือกประสบการณ์ให้ผู้เรียน (selection of learning experiences)
          6) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences)
          ซึ่งการดำเนินการตาม ขั้นตอนดังกล่าวเพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์หลักสูตรวิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายที่ ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุอย่างชัดเจน แล้วจึงเลือกเนื้อหาสาระโดยพิจารณาความต่อเนื่องความยากง่ายและ ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ กลวิธีการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญ ให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายดังกล่าว
          ขั้น R: Research in effective learning environment (การใช้วิจัยเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ซึ่งใน ที่นี้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้หมายถึงการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ) เป็นขั้นที่นักศึกษานา แผนการ จัดการเรียนรู้ไปใช้ในการปฏิบัติการเรียนรู้โดยนักศึกษาใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ในการกำกับติดตามการปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ (Monitoring the Execution of knowledge) หรือการสร้างความรู้ ใหม่และมีความกระจ่างชัด (Monitoring Clarity) และมีความถูกต้องเม่นยา (Monitoring Accuracy) ซึ่งใน ขั้นตอนนี้นักศึกษาจะมีการเลือกรับและทำความเข้าใจข้อมูลใหม่ทำให้นักศึกษามีการรู้คิด (meta cognition) และ กำกับติดตามการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในขั้น R: Research in effective learning environment ประกอบด้วย ขั้นตอน 5 ขั้น คือ
          1) วิเคราะห์ปัญหา
          2) วางแผนแก้ปัญหา
          3) จัดกิจกรรมแก้ปัญหา
          4) เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
          5) สรุปผลการแก้ปัญหา
          ขั้น U: Universal Design for learning เป็นขั้นการประเมิน ตรวจสอบทบทวนตนเองและการยืนยัน ความถูกต้องและนา ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากขั้น R: Research in effective learning environment ไปใช้ในการ วางแผนและออกแบบการเรียนรู้ใหม่และมีการกำกับติดตามโดยการกำกับติดตามนั้น ต้องมีความถูกต้องเม่นยา (Monitoring Accuracy) ซึ่งเป็นไปตาม Meta Cognitive System ของมาร์ซาโน
ผู้วิจัยได้พัฒนาและหาคุณภาพ ประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดย
          ระยะที่ 1 การวิจัย (Research: R) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการจำเป็น โดยวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis: A)ที่ใช้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการจัดดารเรียนการสอนวิชา วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
          ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D&D)เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
          ระยะที่ 3การวิจัย (Research: R2) การนำไปใช้ (Implementation: I) เป็นการนำรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาไปใช้ในสถานการณ์จริง ภาคสนาม
          ระยะที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เป็นการประเมินผล (Evaliation: E) เป็นการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ นำเสนอการจัดการเรียนรู้ ผลการทดสอบโดยในการพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีเครื่องมือประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการ
คิดวิเคราะห์ แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ แบบสอบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้แบบไม่อิสระต่อกัน โดยสรุปผลการวิจัย อภิปลายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะได้ ดังนี้

สรุปผลการวิจัย
        การวิจัยเรื่อง “พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และ จิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [DRU Model (SNN) ] สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
        1.รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสร์ [DRU Model (SNN)] ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการ วัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และ องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนจัดการเรียนรู้ DRU Model ประกอบด้วย 3 ขั้น ตอน ดังนี้
          ขั้น D: Diagnosis of needs (การวินิจฉัยและออกแบบการเรียนรู้ ) เป็นขั้น ให้นักศึกษาวินิจฉัยและตัดสินใจในการวางแผนและออกแบบการเรียนรู้โดยนักศึกษาสามารถกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้และกำหนดภาระงานตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดได้สามารถออกแบบ การจัดการเรียนรู้นำเสนอเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งในขั้น D: Diagnosis of needs ประกอบด้วยขั้น ตอน 6 ขั้น คือ
          1) การวินิจฉัยความต้องการ (diagnosis of needs)
          2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (formulation of objectives)
          3) การเลือกเนื้อหา (selection of content)
          4) การบริหารจัดระบบเนื้อหา (organization of content)
          5) การเลือกประสบการณ์ให้ผู้เรียน (selection of learning experiences)
          6) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences) ซึ่งการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์หลักสูตรวิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุอย่างชัดเจน แล้วจึงเลือกเนื้อหาสาระโดยพิจารณาความต่อเนื่องความยากง่ายและความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ กลวิธีการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายดังกล่าว
          ขั้น R: Research in effective learning environment (การใช้วิจัยเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ซึ่งในที่นี้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้หมายถึงการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ) เป็นขั้นที่นักศึกษานา แผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการปฏิบัติการเรียนรู้โดยนักศึกษาใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในการกำกับติดตามการปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ (Monitoring the Execution of knowledge) หรือการสร้างความรู้ใหม่และมีความกระจ่างชัด (Monitoring Clarity) และมีความถูกต้องเม่นยา (Monitoring Accuracy) ซึ่งในขั้นตอนนี้นักศึกษาจะมีการเลือกรับและทำความเข้าใจข้อมูลใหม่ทำให้นักศึกษามีการรู้คิด (meta cognition) และกำกับติดตามการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในขั้น R: Research in effective learning environment ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น คือ
          1) วิเคราะห์ปัญหา
          2) วางแผนแก้ปัญหา
          3) จัดกิจกรรมแก้ปัญหา
          4) เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล
          5) สรุปผลการแก้ปัญหา
          ขั้น U: Universal Design for learning เป็นขั้นการประเมิน ตรวจสอบทบทวนตนเองและการยืนยันความถูกต้องและนา ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากขั้น R: Research in effective learning environment ไปใช้ในการวางแผนและออกแบบการเรียนรู้ใหม่และมีการกำกับติดตามโดยการกำกับติดตามนั้น ต้องมีความถูกต้องเม่นยา (Monitoring Accuracy) ซึ่งเป็นไปตาม Meta Cognitive System ของมาร์ซาโน (สุเทพ อ่วมเจริญ. 2558)ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชียวชาญ 5 คน ได้ค่าความเหมาะสม/สอดคล้องมีค่าเฉลี่ย(X=5.00, S.D. =0.00) แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและสอดคล้องเชิงโครงสร้าง สามารถนำไปทดลองใช้ได้ค่าประสิทธิภาพค่าของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เท่า 77.27/76.61 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75
        2.หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญษณและจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [DRU Model (SNN) ] โดยการภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก สูงกว่าเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3.หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ [DRU Model (SNN) ] พัฒนาขึ้นหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (X= 4.90, S.D. = 0.20) อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านด้านทีมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสนใจใฝ่รู้ มีค่าเฉลี่ย(X= 4.91, S.D. = 0.19) อยู่ในระดับมากที่สุด
        4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ [ DRU Model (SNN) ] ในภาพรวม นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด และเมื่อแยกรายด้านในภาพรวมด้านพฤติกรรมจิตวิทยาศาสตร์ นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด ในด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด ในด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีโอกาสในการซักถาม/แสดงความคิดเห็น/กระตุ้นให้คิด และนักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด ความรู้ในระดับมากที่สุด เป็นอันดับมากที่สุดและครูแจ้งผลการสอบในการสอบแต่ละครั้ง เป็นอันดับสุดท้าย ส่วนในด้านพฤติกรรมจิตวิทยาศาสตร์การเรียนวิทยาศาสตร์ นักเรียนต้องมีความใฝ่เรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีความละเอียดรอบคอบในการทำงานมากขึ้น และการจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเป็นคนมีใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นอันดับมากที่สุด และการจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีเพียรพยายาม รับผิดชอบทำงานให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา เป็นอันดับสุดท้าย
อภิปรายผล
        การวิจัยเรื่อง “พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และ จิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [ DRU Model (SNN) ]
        รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ [ DRU Model (SNN) ] ที่พัฒนาขึ้นนี้ผ่านการตรวจสอบจากเชี่ยวชาญ 5 คน พบว่าในภาพรวม มีความเหมาะสม/สอดคล้องในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าการกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบมีความเหมาะสมครอบคลุมความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมความสามารถใน ความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ และ องค์ประกอบของรูปแบบแต่ละองค์ประกอบมีควมสัมพันธ์สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดของแฮร์บาร์ด(Herbart) ทฤษฎีการเชื่ยมโยงของธอร์นไดด์ (Thorndike) และแนวคิด หลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ของไดรเวอร์และเบล และ เยเกอร์ (Driver and Bll,1986,Yager,1991)
        2.หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้และจิตวิยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [DRU Model (SNN) ] โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เนื่องจาก กระบวนการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะ ความรู้ได้กับเนื้อหาวิชาที่มีซับซ้อนและความคิดอาศัยหลักการเหตุผล เพื่อพิสูตรข้อเท็จจริง ความรู้จากประสบการจริง สอดคล้องกับ วิโรจน์ วิวัฒน์สรรค์.2555 กล่าวว่าความรู้ (Knowledge) ตามความหมายที่มีผู้ให้นิยามไว้หลายประเด็นหมายถึง สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการและความรู้สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆโดยไม่กำหนดช่วงเวลา (สํานักงานก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ,2548 : 8)  ผลการวิจัยพบว่าความรูหมายถึง พฤติกรรมและสถานการณตาง ๆ ซึ่งเนนการจําไมวาจะเปนการระลึกถึง หรือระลึกได้ก็ตามเปนสภาพการณที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการเรียนรูโดยเริ่มตนจากการรวบรวมสาระตาง ๆ จนกระทั่งพัฒนาไปสู่ขั้นที่มีความสลับซับซอนยิ่งขึ้น โดยความรู้อาจแยกออกเปนความรู เฉพาะสิ่งและความรูเรื่องสากลเปนตน(สุมนา ปรุงศักดิ์. 2551)
        3.หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ [ DRU Model (SNN) ] พัฒนาจิตวิทยาศาสตร์หลังเรียน มีค่าเฉลี่ย (X = 4.60 , S.D. = 0.20) อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความสนใจใฝ่ มีค่าเฉลี่ย (X = 4.91 , S.D.= 0.19) อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการเรียนโดยอาศัยทักษะ ความรู้ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตวิทยาศาสตร์ ด้านการใฝ่เรียนรู้ สูงสุด สอดคล้องกันว่า จิตวิทยาศาสตร์เป็นลักษณะหรือลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ตามแบบประเมินของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธนบุรีเทพีพลารักษ์ ซึ่งผู้วิจัยใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความมุ่งมั่น อดทน รอบคอบ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ประหยัด การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุมีผล การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์(ภาวิตา พรมสีดา. 2558)
        4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ [ DRU Model (SNN) ] ในภาพรวม นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด และเมื่อแยกรายด้านในภาพรววมด้านพฤติกรรมจิตวิทยาศาสตร์ นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวม นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด ในด้านนกระบวนการจัดการรเรียนรู้ นักเรียนมีโอกาสในการซักถาม แสดงความคิดเห็น/การกระตุ้นให้คิด และนักเรียนได้ฝึกทักษะ ความรู้ในเรื่องนั้นๆ
ข้อเสนอแนะ
          จากข้อค้นพบในการวิจัย เรื่อง พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
 (DRU Model)
ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้
          จากผลการวิจัย พบว่า หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (DRU Model) นักเรียนมีจิตวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนผู้เกี่ยวข้องต้องนำรูปแบบนี้ไปใช้
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
          1. ควรมีการวิจัยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้
          2. ควรมีการวิจัยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างผู้เรียน

                           อ้างอิงอ.ดร.นฤมล  ปภัสสรานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น